Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

“ยาลดน้ำหนัก” อันตรายอย่างไร และเหมาะกับใคร?

และถูกใช้ในทางการแพทย์ แต่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะถือเป็นยาที่ “มีผลข้างเคียงอันตราย” รวมถึงต้องเลือกคนไข้ที่จะใช้ยาเหล่านี้ให้ถูกต้องด้วย

ยาชุด หรืออาหารเสริมที่ขายตามสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ หรือคลินิกที่ไม่ได้รับการรับรอง อาจจะมีการใช้ยาที่เป็นอันตราย มีส่วนผสมของยาหลายๆ ตัว ซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายของเราอย่างแน่นอน อาจทำให้ยาที่ใช้เกิดการตีกันในร่างกาย เหตุผลที่ผู้ขายมีการใช้ยาผสมหลายๆ ตัว ก็เพราะต้องการให้ยามีประสิทธิภาพเห็นผลรวดเร็ว น้ำหนักลดได้รวดเร็ว แต่ผู้ผลิต หรือผู้ขายเองไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา สารที่เรามักพบในยาลดน้ำหนัก และมีอันตรายได้แก่

1. “ไซบูทรามีน” จัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีฤทธิ์ในการลดความอยากอาหาร ซึ่งถูกเพิกถอนออกไปแล้ว เนื่องจากมีการวิจัยชัดเจนว่า เมื่อใช้ยาตัวนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น

2. “ยาในกลุ่มแอมเฟตามีน” เช่น เฟนเทอร์มีน ออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่มทำให้เกิดการเบื่ออาหาร อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้

3. “ยาระบาย บิสซาโคดิลและยาขับปัสสาวะ ฟูโรซีไมด์” เป็นยารักษาโรคซึมเศร้า และอาการในกลุ่มวิตกกังวลช่วยทำให้ไม่อยากอาหาร ผลข้างเคียงคือ ร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่

โดยทั่วไปแล้วยาลดน้ำหนักมีไว้ใช้สำหรับคนที่เป็น “โรคอ้วน” ซึ่งการใช้ยามักจะใช้ในผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป หรือเกิน 27 แต่มีโรคความดัน โรคเบาหวาน หรือหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เป็นต้น รวมถึงต้องวินิจฉัยว่าคนไข้มีการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายแล้วแต่ “ไม่ได้ผล” จึงจะสามารถใช้ยาเหล่านี้ได้ ไม่ใช่ว่าอยากจะลดแล้วสามารถใช้ยาได้เลย ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์ทุกครั้ง

 

ขอขอบคุณข้อมูล และคำแนะนำจาก : อ.พญ.ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล