Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

5 ผลร้าย คาเฟอีนทำร้ายร่างกาย

และปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคอายุน้อยลงเรื่อยๆ เพราะอยู่ได้ในหลายรูปแบบ แต่เคยสงสัยไหมว่าดื่มพวกนี้ลงไปแล้ว ร่างกายได้ประโยชน์ หรือไม่ได้ประโยชน์

คาเฟอีนจัดเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มแซนธีนส์ (Xanthines) มีลักษณะเป็นผงสีขาว มีรสขม ละลายน้ำได้ดี ผสมอยู่ในชา กาแฟ น้ำอัดลม ขนม ไอศครีม และอื่นๆ โดยสารกลุ่มนี้ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของสมอง ขยายหลอดลม และขับปัสสาวะ

ทุกส่วนของทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้เล็กเป็นส่วนที่มีการดูดซึมมากที่สุดเพราะมีพื้นที่การดูดซึมมาก เมื่อเราดื่มเข้าไปแล้ว คาเฟอีนจะออกฤทธิ์อยู่ในร่างกายประมาณ 3-6 ชั่วโมง แต่ถ้าได้รับคาเฟอีนเข้าไปขณะท้องว่าง หรือกำลังหิว จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดภายใน 30 นาที เพราะเหตุนี้จึงทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ขึ้นมาทันทีหลังจากได้รับคาเฟอีน นอกจากนี้ยังกระจายไปยังสมอง หัวใจ ตับ ไตอย่างรวดเร็ว

คาเฟอีนทำอะไรกับร่างกายบ้าง

1.ส่งผลต่อสมอง เพราะคาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นสมองอยู่แล้ว ผู้ที่บริโภคจึงรู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้สึกง่วง แต่เมื่อได้รับในปริมาณที่สูง จะทำให้มือสั่น นอนไม่หลับ เกิดความวิตกกังวล ในบางครั้งอาจทำให้ชักได้

2.ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต โดยคาเฟอีนจะไปกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง ตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสูงกระแสเลือดเร็วขึ้น กล้ามเนื้อตื่นตัวพร้อมทำงาน

3.ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร การดื่มคาเฟอีนจะเพิ่มการหลั่งของกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารสูง ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ จึงควรหลีกเลี่ยงกาแฟทุกชนิด

4.ส่งผลต่อการนอนหลับ ชัดเจนอยู่แล้วว่าคาเฟอีนจะช่วยขยายเวลาในการทำงานเพิ่มขึ้น และลดเวลาในการนอนหลับให้สั้นลง

5.ส่งผลต่อกระดูก การดื่มคาเฟอีนทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม กระดูกเปราะบาง กระดูกหักง่ายนั้น ก็ต่อเมื่อเราควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆได้ไม่รัดกุมเพียงพอ เช่นการได้รับแคลเซียมน้อย หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ดูแลรักษากระดูก

ข้อควรระวัง

หากดื่มคาเฟอีนเข้าไปในปริมาณมาก จะเกิดพิษได้ หากดื่มคาเฟอีนในปริมาณ 200-500 มิลลิกรัม จะทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด เพราะสมองถูกกระตุ้นมากเกินไป กระวนกระวาย มือสั่น

คาเฟอีนปริมาณ 1000 มิลลิกรัม อาจเกิดพิษเฉียบพลัน จะมีไข้สูง วิตกกังวล พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว เบื่ออาหาร อาเจียน ปัสสาวะบ่อย หรืออาการรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิต คือการชักแบบต่างๆ (ชักกระตุก ชักเกร็ง) หลังแอ่น ปอดแฟบ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติและเสียชีวิตจาก ภาวะการหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวขึ้นได้

 

ที่มา : manager.co.th โดย ภัทรียา บาบุญ