Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

โรคเข่าเสื่อม ตอนที่ 2

1. การปรับอิริยาบถในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ การขึ้น-ลงบันไดโดยไม่จำเป็น การยกของหนัก การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป 


การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบข้อแข็งแรง ในระยะที่มีอาการปวด ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องกระโดด เช่น วิ่ง หรือเล่นเทนนิส เป็นต้น การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ ว่ายน้ำ เดิน เป็นต้น


2. การใช้ยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม เพื่อลดอาการปวดและอักเสบภายในข้อ ได้แก่ ยาแก้ปวด พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาพยุงหรือลดความเสื่อม เป็นต้น 


ซึ่งการกินยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ส่วนการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อนั้น สามารถลดอาการปวดในช่วงสั้นๆ 2–3 สัปดาห์ ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ แต่ไม่ควรฉีดเป็นประจำเนื่องจากจะทำลายกระดูกอ่อน ข้อต่อได้


3. การรักษาโดยการผ่าตัด มีวิธีการผ่าตัดชนิดต่างๆ ได้แก่
- การส่องกล้องภายในเข่า เพื่อตรวจสภาพและล้างภายในข้อ ใช้ใน กรณีที่มีเศษกระดูกอ่อนมาขวางการเคลื่อนไหวของเข่าและเป็นข้อเข่าเสื่อม ในระยะแรก


- การผ่าตัดปรับแนวข้อ ทำในกรณีที่มีการผิดรูปของข้อ โดยแก้ไข แนวแรงให้กระจายไปยังจุดที่ผิวข้อยังดีอยู่


- การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นวิธีการรักษาภาวะข้อเข่า เสื่อมในระยะปานกลางถึงรุนแรงที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด นั่นคือจะทำให้หายปวดเข่า ข้อเข่ากลับมาเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลังการผ่าตัด


เขียนโดย : ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท 
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี