Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

อัลไซเมอร์ ต้องป้องกัน ต้องเข้าใจ และเมตตา

เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจโรคนี้กันมากขึ้นเพราะหากพูดถึงโรคนี้แล้วคงไม่มีใครปรารถนาที่จะเป็น

 

เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องอาศัยการดูแลและความเข้าอกเข้าใจจากคนใกล้ตัวเป็นสำคัญ ฉะนั้นถ้าอยากลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ก็จะต้องหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง 

 

บริหารสมองเป็นประจำ ส่วนถ้าใครพบอาการแล้วผู้ดูแลก็จะต้องให้ความเข้าใจกับอาการตลอดจนมีความเมตตาดูแลรักษากันอย่างถูกหลัก


ผศ.พญ.ดาวชมพู นาคะวิโร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำว่าถ้าหากไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์

 

คุณหมอแนะนำให้ดูแลทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง ตลอดจนการบริโภคอาหารต่างๆก็จะต้องรับประทานให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม

 

ลดละอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงสภาพจิตใจก็ควรที่หลีกเลี่ยงความเครียด หมั่นฝึกสมองฝึกการจดจำ และฝึกจัดระเบียบความจำ

 

ด้วยใช้ความคิดจัดระบบ วางแผนชีวิตประจำวันเพื่อบริหารสมองและขจัดปัญหาการหลงลืม สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

 

โดยเรื่องดังกล่าวองค์รวมเบื้องต้นมาจากการใช้เรื่องสมาธิเข้ามาเป็นพื้นฐานเพื่อเริ่มต้นฝึกฝนความจำและจัดระบบความจำ

 

สำหรับชีวิตประจำวันของคนที่ชอบหลงลืม หรือไม่สามารถลำดับความสำคัญซึ่งเป็นพื้นฐานของเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์เบื้องต้นแพทย์แนะนำให้ลองทำวิธีวาด My Map หรือ การวางโครงสร้างแผนที่ไว้ในสมองและจัดหมวดหมู่

 

อาทิเช่น กิจวัตรประจำวันมีทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวแบ่งหมวดจากใหญ่ไปเล็กและนึกภาพแล้วแตกย่อยลงไปในภารกิจควรจะวางแผนก่อนที่จะเริ่มดำเนินชีวิตในแต่ละวันจะได้ไม่หลุดหรือไม่พลาด

 

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการฝึกจัดระบบในสมอง และก็นับเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ พอความคิดมีระบบพอจะจำก็จะถูกจัดเข้าสู่ระบบ

 

เพราะฉะนั้นจะต้องสังเกตว่าเกิดความเครียดหรือไม่ คุณหมอชี้แจงว่าสามารถสังเกตว่าตนเองเครียดได้หลายด้าน

 

1. ด้านร่างกาย บางรายร่างกายอาจจะแสดงปฏิกิริยาที่เนื่องมาจากความเครียด อาจจะเกิดอาการแน่นอก ใจสั่น เหงื่อแตกเป็นอาการเห็นได้ชัดทางด้านร่างกายเป็นต้น

 

2.ด้านอารมณ์ อาจจะให้สังเกตที่ใจใจคนเราจะรับสัมผัสได้ที่หน้าอก ซึ่งหากใจทุกข์ก็จะมีความรู้สึกเหมือนคำพูดที่ชอบพูดกันว่า “หนักใจ” แต่ถ้าสบายใจก็จะรู้สึกเบาๆตรงบริเวณหน้าอกปิดท้ายด้วย

 

3.ด้านความคิดก็จะเกิดอาการคิดมาก พะวงจมอยู่กับเรื่องนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังได้แนะนำหนทางลดความเครียดลงด้วยวิธีง่ายๆ อีกด้วย ขั้นแรกคือต้องเบี่ยงเบนจากสิ่งที่รู้สึกเครียดก่อนบางคนอาจจะถอยมาตั้งหลักตั้งสติกับใจตัวเองเพื่อทำสมาธิหลีกเลี่ยงจากความรู้สึกเครีย

 

พอใจรู้สึกสบายขึ้นความเครียดก็มาจากความคาดหวัง บางทีเป็นความคาดหวังที่เกินจริง ขณะที่บางคนเครียดมากแล้วหันไปพึ่งยา ซึ่งคนที่ไปพึ่งยาเป็นตัวช่วย

 

แพทย์ให้คำแนะนำกรณีนี้ว่าในกรณีที่ทานยาโดยไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์จะมีความเสี่ยงที่จะติดยาชนิดนั้นๆ หรือผลข้างเคียงของการใช้ยาต่างๆ

 

ยกเว้นแต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคของความวิตกกังวลโรคซึมเศร้ากรณีนี้ผู้ป่วยจะมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องของสารเคมีในสมองการใช้ยาก็จะเป็นตัวปรับช่วยได้



นอกจากในส่วนของผู้ป่วยแล้ว ผศ.พญ.ดาวชมพู นาคะวิโร ยังมีข้อแนะนำมาฝากไปถึงผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วยหลักคิดและทัศนคติด้านบวก


“ความเป็นผู้ดูแลเป็นผู้ให้อยู่แล้ว บางคนให้จนตัวเองรู้สึกไม่มีเหลือ คนให้ที่ดีต้องให้ด้วยความไม่คาดหวัง ให้ความ “เมตตา” ต้องกลับมาดูใจตัวเองเป็นหลักเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้พร้อมยินดีเปิดใจรับความช่วยเหลือ

 

ทั้งนี้การเข้ากลุ่มด้วยการคุยกันเยอะๆ หรือการแชร์ประสบการณ์การดูแลจากผู้มีประสบการณ์เดียวกันก็จะทำให้ช่วยได้ และรู้สึกดีขึ้น”


รายการพบหมอรามา รามาแชนแนล