Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

ฟื้นฟูสมอง ด้วยดนตรีบำบัด

ในขณะฟังดนตรีนั้น เป็นผลมาจากการที่ผู้ฟังสามารถรับรู้ได้ถึงบริบทของดนตรีที่ตนกำลังฟังอยู่

 

เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การฝึกซ้อมดนตรีในระยะยาวรวมถึงการเรียนรู้ทักษะ และการสร้างสรรค์งานดนตรีมีผลอย่างยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพของสมอง

 

อาศัยการประสานกันของสมองส่วนต่างๆ นอกเหนือจากที่เกี่ยวกับการฟัง การเคลื่อนไหว ดนตรียังช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นและผู้ฟังในลักษณะเหมือนเช่น การให้ความสุข สนุกเบิกบานเป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน

 

การรักษาตามปกติร่วมกับการบำบัดด้วยดนตรี ไม่ได้เป็นเพียงแต่ช่วยให้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังมีผลเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูอีกด้วย กลไกทางประสาทวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การมีจินตนาการทางดนตรี

 

ขณะที่กำลังฟังดนตรีนั้นนอกจากสมองที่เกี่ยวกับการได้ยินแล้ว ยังมีสมองที่ก่อให้เกิดจินตภาพว่ากำลังร้องหรือเล่นเครื่องดนตรีนั้นๆ ควบคู่ไปด้วย (perception-action mediation)

 

ในกระบวนการดังกล่าวอาศัยสมองหลายส่วนได้แก่ ventrolateral premotor cortex, Rolandic operculum, Broca's area, Insula และ inferior parietal region ซึ่งสำคัญมากทั้งสร้างสรรค์ดนตรีรวมถึงการสร้างคำพูดเพื่อการสื่อสาร

 

หากกระบวนการดังกล่าวแปรปรวนอาจเกิดภาวการณ์สูญเสียความสามารถเฉพาะทางด้านดนตรี (amusia) และรวมถึงความสามารถในการใช้หรือเข้าใจคำพูด และภาษา (aphasia)

 

การฟื้นฟูความสามารถทางด้านการใช้ภาษาของผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากอัมพฤกษ์ที่สมองซีกซ้าย อาจทำได้โดยผ่าน การกระตุ้นสมองซีกซ้ายบริเวณใกล้เคียงกับส่วนที่มีพยาธิสภาพจากโรค

 

ให้กลับมาทำหน้าที่แทนส่วนที่เสียไปหรือผ่านทางกระบวนการกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวาบริเวณที่ทำหน้าที่ได้ใกล้เคียงกับสมองซีกซ้ายส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา

 

ผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถทั้งในการใช้ภาษาแบบชนิดพูดลำบาก หรือผิดปกติในการเข้าใจคำพูด จากความผิดปกติของสมองซีกซ้ายส่วน Frontal และ superior temporal lobes

 

มีการบำบัดฟื้นฟูด้วย Melodic Intonation Therapy (MIT) ได้แก่ สำเนียงทางทำนอง (melodic intonation) การเคาะจังหวะ (rhythmic tapping) และเสียงดนตรีที่ต่อเนื่อง (continuous voicing)

 

ในการพัฒนาการทำงานของสมองซีกขวาส่วนที่ทำหน้าที่ได้คล้ายคลึงกับสมองซีกซ้ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาให้มาทำหน้าที่แทนสมองซีกซ้ายที่เสียไป

 

ผู้ป่วยที่ผ่านการบำบัดด้วย MIT มีความสามารถด้านการพูด และการใช้ภาษาดีขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการบำบัดอย่างมีนัยสำคัญโดยเห็นได้จากการที่ผู้ป่วย

 

สามารถสร้างคำพูดที่มีความหมายได้มากขึ้นภายในเวลา 1 นาที และยังสามารถพูดประโยคหรือวลีที่มีความยาวมากขึ้นได้

 

นอกจากนี้ผลเปรียบเทียบภาพถ่ายทางสมองด้วยเครื่อง functional MRI ยังแสดงให้เห็นว่าหลังการบำบัดด้วย MIT ผู้ป่วยจะมีการทำงานของสมองซีกขวาบริเวณ frontal-temporal network เพิ่มขึ้นด้วย

 

การเรียนเปียโนช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ด้านการเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยทักษะอย่างละเอียด การเรียนเปียโนภายในระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการทำงานอย่างมีทักษะของนิ้วมือโดยผ่านการกระตุ้นทางการฟังและการได้ยิน 

 

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนด้านดนตรีมาก่อนจำนวน 32 ราย (17 รายเป็นอัมพาตแขนซีกซ้ายและ 15 รายเป็นอัมพาตแขนซีกขวา)

 

รับการฝึกฝนด้านดนตรีอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์รวมทั้งสิ้น 15 ครั้งเพิ่มเติมจากโปรแกรมการทำกายภาพบำบัดตามปกติ 

 

เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 30 รายที่ได้รับการรักษากายภาพบำบัดตามปกติ พบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม มีความสามารถในการเคลื่อนไหวมากขึ้น

 

ทั้งในด้านความรวดเร็ว (speed) ความแม่นยำ (precision) และความราบรื่นในการเคลื่อนไหว (smoothness of movements) แต่กลุ่มฝึกฝนด้านดนตรีเพิ่มเติม เก่งกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

 

นอกจากนี้ข้อมูลด้านประสาทสรีรวิทยา ยังได้แสดงให้เห็นอีกว่าผู้ป่วยในกลุ่มฝึกฝนด้านดนตรี มีการตื่นตัวของเครือข่ายประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างสมองส่วนสั่งการเคลื่อนไหว และไขสันหลังมากขึ้น (cortico-spinal excitability)

 

การกระตุ้นด้วยจังหวะดนตรีช่วยฟื้นฟูทักษะการเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ การทำกายภาพบำบัดที่อาศัยจังหวะดนตรีในการกำหนดรูปแบบของการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย (rhythmic auditory stimulation, RAS)

 

และการทำกายภาพบำบัดแบบองค์รวมเพื่อฟื้นฟูความสามารถของสมองในด้านต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน(neurodevelopment therapy (NDT)/ Bobath-based training) 

 

ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก ผลการศึกษาที่ 3 สัปดาห์พบว่าผู้ป่วยกลุ่มทำกายภาพบำบัดแบบ RAS มีความสามารถในการเดินดีขึ้น และอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าผู้ป่วยในกลุ่ม NDT

 

ทั้งในแง่ของความเร็วในการเดิน (velocity) ความยาวของการก้าว (stride length) จังหวะในการเดิน (cadence) รวมถึงความสมดุลในการเดิน (symmetry) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดนตรี ช่วยเราได้มากกว่าที่เคยคิดนะครับ

 

 

ที่มา : www.thairath.co.th