Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

กระดูกงอก เกิดได้อย่างไร และอันตรายไหม

อาจคุ้นหูอยู่ว่า มีดาราสาวท่านหนึ่งกำลังประสบกับอาการ กระดูกงอกที่หน้าผาก นั่นคือสาว พีค ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ ที่จู่ๆ ก็มี กระดูกงอกโผล่ออกมาที่บริเวณหน้าผาก และค่อยๆโตขึ้นเรื่อย 

 

จนล่าสุดสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่สาวพีค ก็ได้พูดถึงอาการนี้ว่า ไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด แต่เธอก็เตรียมผ่าตัดเพื่อ ตะไบกระดูกที่ปูดออกมา

 

ให้กลับไปเรียบเช่นเดิม เพื่อให้ใบหน้าไม่มีรอยปูดเหมือนเช่นตอนนี้

 

วันนี้เราเลยมีข้อมูลเกี่ยวกับ กระดูกงอกจากคุณหมอหมู หรือ นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ที่เคยอธิบายอาการนี้ไว้ในบล็อกส่วนตัวไว้ดังนี้ค่ะ

 

เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า กระดูกงอกเกิดขึ้นได้อย่างไร …

 

กระดูกงอก เกิดจาก ความพยายามตามธรรมชาติของร่างกาย ที่จะซ่อมแซมรักษาส่วนที่บาดเจ็บ ฉีกขาด มีการอักเสบ หรือ มีการเสื่อมสภาพ 

 

โดยมีแคลเซี่ยมมาเกาะในบริเวณนั้น ถ้าแคลเซี่ยมเกาะกันมากเข้าก็จะกลายเป็น กระดูกงอกขึ้นมา...

 

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องปกติ ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นสิ่งแปลก หรือ เป็นสิ่งเลวร้ายอะไรที่ เอกซเรย์ แล้วเห็นว่ามีกระดูกงอก แต่ถ้าพบว่า

 

มีกระดูกงอกแล้วจะต้องรักษา โดยการผ่าตัด เอากระดูกงอกนั้นออกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า…

 

1.กระดูกงอก เป็นปลายเหตุ

 

มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการอักเสบ การบาดเจ็บ แล้วร่างกายก็ตอบสนอง พยายามรักษาตัวเอง เช่น เส้นเอ็นร้อยหวาย เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

 

กระดูกสันหลังเสื่อมในระยะข้อหลวม กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาด กล้ามเนื้อฉีกขาด เป็นต้น …

 

ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอกออกไป นอกจาก จะไม่ดีขึ้น แล้วยังอาจ แย่ลงกว่าเดิมเสียอีก

 

2.กระดูกงอก เป็นต้นเหตุ

 

กระดูกงอก ทำให้เกิดการอักเสบ อาการปวด เนื่องจาก กระดูกงอกที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายนั้น มีขนาดใหญ่มากเกินไป จนไปกดเบียดเนื้อเยื่อใกล้เคียง

 

เช่น กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น…

 

ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอกออกไป ก็จะทำให้ดีขึ้น

 

ดังนั้น เมื่อเอกซเรย์ พบว่า มีกระดูกงอก ก็ต้องแยกให้ได้ก่อนว่า กระดูกงอกนั้น เป็นต้นเหตุ หรือ ปลายเหตุ ของอาการที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ว่า

 

เห็นกระดูกงอก แล้วต้องผ่าตัดออก ทุกครั้งไป กระดูกงอกก็มีทั้งเป็น พระเอก และ เป็นผู้ร้าย ต้องคิดพิจารณาให้รอบคอบก่อนเสมอ

 

คำถามที่พบบ่อย 

 

1. ทานแคลเซียมเยอะ ๆ ทำให้มีกระดูกงอกไม่เป็นความจริง

 

จากการศึกษาพบว่าในผู้ที่กินยาเม็ดแคลเซียมน้อยกว่าวันละ 2 กรัม ไม่พบว่ามีนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น

 

และไม่ทำให้เกิดกระดูกงอกเพิ่มมากขึ้น (กระดูกงอกมักเกิดจากข้อเสื่อม ไม่เกี่ยวกับยาเม็ดแคลเซียม)

 

2. สลายกระดูกงอก ด้วย ยากิน หรือการนวด 
ไม่เป็นความจริง 

 

ไม่มียากิน ยาฉีด ที่ใช้สลายกระดูกงอก และ การนวด ก็ไม่สามารถทำให้กระดูกที่งอกนั้นหาย

 

3. คนที่มีกระดูกงอก แสดงว่า เป็นโรค ต้องหาหมอเพื่อรักษา ???
ไม่เป็นความจริง

 

จากการศึกษา โดยนำผู้สูงอายุ ที่ไม่มีอาการผิดปกติ มาเอกซเรย์ พบว่า ผู้ที่อายุมากกว่า ๖๐ ปี เกือบครึ่งพบมีกระดูกงอกตามข้อต่าง ๆ

 

และในผู้ที่อายุมากกว่า ๗๐ ปี เกือบทั้งหมด พบมีกระดูกงอกด้วยกันทั้งนั้น

 

 

สรุปง่าย ๆ ว่า ถ้าพบกระดูกงอก แต่ไม่มีอาการผิดปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา

ขอบคุณที่มาบทความจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2008&group=5&gblog=39