Loading...

HEALTH CORNER

อ่านเรื่องราวพบคำแนะนำเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี พร้อมกิจกรรมและข่าวสารให้คนรักสุขภาพได้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างถูกวิธี

“เป็นไปไม่ได้” ตรวจเลือด 1 หยดรู้ไปเสียทุกโรค

ตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกายด้วยการส่องผ่านกล้องจุลทรรศ์เรียกได้ว่า มาแรงมากๆ แต่มันสามารถทําแล้วตรวจหาโรคสารพัดได้จริงๆ หรือ? หลายคนต่างพากันสงสัย 

 

วันนี้ อ.นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร สาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิก และชีวะสถิติคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล จะมาอธิบายให้เราได้ฟังกัน

 

การตรวจเลือดแบบนี้หรือที่เขาใช้ชื่อว่า “ลีฟบลัด อนาไลซิส (Live Blood Analysis : LPA)” ที่เรามักจะเห็นกันตามห้างสรรพสินค้า มีเจ้าหน้าที่ที่ยืนทำการตรวจ

 

หรือเห็นจากการส่งต่อภาพในโลกออนไลน์ พอตรวจเสร็จก็จะมีการวิเคราะห์ไปต่างๆนาๆ ว่า เรานั้นมีกรดในเลือดสูงบ้าง มีพยาธิ มีน้ำตาลในเลือดสูง

 

มีแบคทีเรีย นู่นนั่นนี่ จนทำให้หลายคนเกิดความตื่นตระหนก ว่าจะเป็นโรคอะไรร้ายแรงหรือไม่ มันตรวจได้ไวและรู้ได้หมดขนาดนั้นเชียว?

 

ในทางการแพทยน์ัน การตรวจแบบนี้เราเรียกว่า “ดาร์คฟิล ไมโครสโคป (Dark Field Microscopes)” ซึ่งปัจจุบันมีการใช้น้อยมา

 

จากนั้นจะนำมาย้อมสีเพื่อวิเคราะห์อะไรบางอย่าง หรือเพื่อดูว่าเม็ดเลือดแดงนั้นขาดธาตุเหล็กหรือไม่ 

 

ซึ่งจริงๆแล้วต้องทำการเกลี่ยบนสไลด์ ปิดด้วยกระจกสไลด์ ย้อมสีอย่างครบขั้นตอนตามหลักการ และต้องทำในห้องที่สะอาด ไม่มีฝุ่น

 

จึงจะเห็นได้ชัดเจนมากกว่าการไม่ย้อมสีแบบ ลีฟบลัด อนาไลซีส (Live Blood Analysis: LPA) ที่กล่าวอ้างกัน

 

เลือดของเรานั้นแต่ละคนมีความหนืดไม่เท่ากัน บางครั้งมันก็จะจับเป็นกลุ่ม ซึ่งการจับเป็นกลุ่มที่ว่านี้ ก็อาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคบางโรคได้

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับปัจจัยในการเกลี่ยของเม็ดเลือดที่หยดลงบนสไลด์ด้วย 

 

ถ้าตั้งใจเกลี่ยให้มันข้นๆ เอาส่วนที่หนืดๆหน่อย ก็จะเห็นการเกาะของเม็ดเลือดแบบซ้อนๆ กันขึ้นมาได้ คนขายโปรแกรมตรวจเลือดเลยนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการหลอกผู้บริโภคให้หลงเชื่อ

 

การตรวจเลือดนั้นมีความซับซ้อนหลายขั้นตอน มีค่าใช้จ่าย และใช้เวลา ไม่สามารถเจาะตรวจเดี๋ยวนั้น แล้วจะรู้ผลว่าเราเป็นโรคอะไรได้ทันที มันเป็นไปได้ยากมาก

 

การตรวจเลือดไวๆ มีแต่การตรวจหากรุ๊ปเลือด เพราะฉะนั้นจึงอยากฝากให้ทุกคนใช้วิจารณญาณในการบริโภคให้มาก

 

อย่างหลงเชื่ออะไรโดยไม่มีข้อมูล หากไม่แน่ใจให้ถามผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีกว่า

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล